ภาพยนคร์เรื่องโหมโรง เป็นภาพยนตร์ที่ปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย ที่คุณอิธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ได้กำกับจากเค้าโครงของประวัติหลวงประดิษฐไพเราะ เนื้อเรื่องได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม โดยสื่อให้เห็นถึง'ราก'เล๊กๆของประเทศเช่นดนตรี ที่สามารถนำความสามัคีและความปรองดองระหว่างคนไทยกันเองได้ การเรียบเรียงของภาพยนตร์เต็มไปด้วยการย้อนไปย้อนมาข้ามเวลาของชีวิต 'นายศร' ตัวละครหลัก ซึ่งเป็นนักเล่นระนาดเอกที่ต่อสู้กับนักดนตรีมามากมายในยุคเขา และยังสู้จนสิ้นลมหายใจเพื่ออนุรักษ์ดนตรีไทย วิธีการประสมประสานเนื้อเรื่องทำให้ผู้ชมทุกคนที่ดูมีความประทับใจในวีรบุรุษของประเทศชาติ
ภาพยนตร์ทุกเรื่องมักใช้ดนตรีหรือเพลงต่างๆนานาในการสร้างบรรยากาศ เนื่องจากว่า 'โหมโรง' นั้นเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับดนตรี ทุกๆเพลงที่ถูกใช้มีคุณสมบัติในด้านวัฒนธรรม และสะท้อนให้เห็นถึงความไพเราะความดุดันและความแข็งแกร่งของสังคมในยุคอดีต ที่ไม่ได้นำความคิดของชาวต่างชาติมาเป็นจุดตั้งจุดยืนของอาณาจักร นอกจากการใช้ดนตรีในการย้อนยุค ผู้กำกับได้ใช้ให้เป็นอุปมาสำคัญ ตอนที่ลูกของนายศรได้นำเปียโนเข้ามาในบ้าน นายศรได้เล่นเพลง ลาวดวงเดือน พร้อมลูกด้วยเปียโนกับระนาด เพื่อให้สะท้อนถึงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ด้วยกันได้ เพลงบางเพลงในภาพยนตร์ได้ช่วยทำให้เห็นการย้อนไปย้อนมาของเวลาอย่างชัดเจน เวลาเนื้อเรื่องได้กลับมาที่ยุคปัจจุบันของนายศร เพลงและดนครีต่างๆที่ได้ยินมักมาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือวงดนตรีที่เต็มไปด้วยดนตรีสากล เช่น แชกโชโฟนหรือเปียโน จากที่เห็นในภาพยนตร์จากต้นจนถึงตอนจบ ดนตรีทุกชิ้นเป็นคุณสมบัติหลักของกาลเวลาของวัฒนธรรม และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของดนตรีไทยที่ค่อยๆจางหายไปจากสังคม
อีกองค์ประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ทำให้ผู้ชมทึ่ง คือการใช้สัญลักษณ์มาผสมผสานกับแก่นหลักของภาพยนตร์ เช่นสงครามหรือการต่อสู้ระหว่างนายศรกับขุนอินในการแข่งประกวด สงครามนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ค้นหาความเป็นอารยะทัดเทียมกับชาติอื่น แต่การที่คนเราดูถูก'รากเหง้า' ของประเทศตนเอง จะไม่สามารถทำให้ประเทศใดก็ตามในโลกนี้ สามารถก้าวหน้าได้ เช่นเดียวกับตอนนายศรได้พยายามเปลี่ยนแผนเดิมของการเล่นระนาดให้มาเป็นอะไรแปลกใหม่ ทำให้คนไม่พอใจกับดนตรีเขาเพราะมันเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม จุดสำคัญในภาพยนตร์คือในยุคที่ไทยกำลังโดนญี่ปุ่นบุกรุก นายศรหรือ'ท่านครู'ได้ต่อว่าท่านผู้พันว่า "ไม้ใหญ่จะยืนทระนงต้านแรงช้างสารอยู่ได้ ก็ด้วยรากที่หยั่งลึกและแข็งแรง" วัฒนธรรมคือสิ่งที่สำคัญ และสงครามคือผลสรุปของการลบล้างมัน อีกสัญลักษณ์ที่สำคัญคือระนาด ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงดนตรี แต่เป็นแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น และเอกลักษณ์ของชาติไทย หลวงประดิษฐไพเราะได้กล่าวไว้ว่าระนาดนั้น เป็น"อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน" ระนาดเป็นดนตรีหลักที่คนต่างชาติจากสมัยก่อน และ ณ ปัจจุบัน เห็นว่ามีความเป็นไทยมากที่สุด จากการกำเนินเรื่องของภาพยนตร์ ระนาดเป็นเครื่องดนตรีที่คนในยุคโบราณนับถือเป็นอย่างยิ่ง และเป็นผู้มีเกียรติอย่างสูง เนื่องจากว่าระนาดนั้นเป็นหน้าเป็นตาของทุกๆหมู่บ้านหรือจังหวัด และเป็นการนำสังคมให้เข้าหากันด้วยการแข่งขันเล่นดนตรี ภาพยนตร์นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ถ้าสังคมจะพัฒนาในด้านใดๆก็ตาม วัฒนธรรมต้องเป็นตัวตั้งตัวยืน และความคิดผู้อื่นเป็นการเจริญเติบโต
อีกอย่างที่น่าประถับใจในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการจัดฉากระหว่างในวัยเยาว์หรือวัยชราของนายศร ตอนย้อนยุคไปในอดีต เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานที่อยู่ในชนบท เช่นบ้านเกิดของศร ซึ่งมาจากอัมพวา สภาพแวดล้อมของอัมพวาจะเต็มไปด้วยป่าวัดและเรือนไทยโบราณ ส่วนชาวบ้านทุกๆคนต่างทำหน้าที่ เช่น จับปลา ซ้อมดนตรี หรือขายของ ส่วนเมืองบางกอกนั้น ซึ่งเป็นเมืองที่นายศรได้เดินทางไปแข่งขันตีระนาด ได้เริ่มมีการพัฒนาจากวัฒนธรรมต่างชาติเช่นเครื่องเล่นแผ่นเสียง แต่ยังมีความดั้งเดิมในการเดินทางหรือการใช้ชีวิต ซึ่งเต็มไปด้วยตลาดและงานการคล้ายคนในชนบท ส่วนยุคสงครามตอนนายศรแก่แล้ว สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากทุกๆคนที่นุ่งโจงกระเบน คนในเมืองแต่งตัวสากล และดื่มสุราต่างประเทศ มีนายทหารคนหนึ่งได้ดูถูกแป้งสาโท ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของเหล้าไทย ให้คนฟังเพื่อเป็นการเยาะเย้ยความเป็นไทยหรือความเป็นคนล้าสมัย การเดินทางจากเดินและเกวียน กลายเป็นรถยนตร์หรือจักรยานยนตร์ และอย่างที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้ ทุกๆร้านอาหารเต็มไปด้วยดนตรีสากลหรือเครื่องเล่นแผ่นเสียง ซึ่งต่างจากฉากโบราณที่เต็มไปด้วยวงดนตรีไทย การที่ผู้กำกับได้สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ผู้ชมได้สัมพัสถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งแง่คุณภาพสังคมและคุณภาพของจิตใจคนในแต่ละยุค จากสังคมที่ร่วมมือกันรักษาระเบียบวินัยของความเป็นไทย ไปจบในสังคมที่ยกย่องวัฒนธรรมต่างชาติ และปนเปื้อนทับคุณสมบัติของความเป็นไทยจนเริ่มจางหาย
สรุป ภาพยนตร์เรื่องโหมโรงของคุณอิธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ได้เป็นคติสอนใจผู้ใหญ่และเยาวชนทุกๆคนให้ปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย และให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพื่อที่จะได้รักษารากเหง้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นรากที่ยังทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถมีความเป็นเอกลักษณ์และความแตกต่างจากสังคมอื่นในโลกนี้ นอกจากแก่นเรื่องที่ดี ตัวภาพยนตร์นั้นมีเนื้อเรื่องที่ตื่นเต้นตลอดจนถึงตอนจบ และ ได้ใช้ดนตรีเคียงข้างกับชนิดของสภาพแวดล้อม ซึ่งได้สร้างบรรยากาศที่งดงามให้ผู้ชมได้เห็นและสัมพัส การเลือกตัวละครเป็นอันที่เหมาะสม และทุกตัวละครในเรื่องได้แสดงถึงบุคลิกภาพของคนไทยในอดีตได้อย่างแม่นและระเอียด ความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ไม่ได้เพียงแสดงถึงภาพพจน์สังคมไทยโบราณที่แสนสง่างาม แต่ได้สร้างภาพใหม่สำหรับดนตรีไทย ความเป็นไทย และความน่าประทับใจสำหรับวิรบุรุษไทย