วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นักรบไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม




นาย แปลก ขีตตะสังคะ หรือที่เรียกกันไปทั่วว่า "จอมพล ป. พิบูลสงคราม” เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งได้ยาวนานที่สุดของประเทศไทย คือ ๑๔ปี ๑๑เดือน และ๑๘วัน นโยบายหลักของท่านคือการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นอารยประเทศ และสร้างปนะเทศไทยให้เจริญเติบโตเหมือนประเทศต่างๆนานา เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่ครอบครองหลากหลายประเทศในยุคนั้น ท่านได้สร้างวัฒนธรรมให้ชาติอย่างมาก เช่น ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย การรำวง การตั้งมาตรฐานใหม่สำหรับการดำรงชีวิตในประเทศ และเป็นผู้เปลี่ยนชื่อ สยาม เป็นประเทศไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.. ๒๔๘๒ รวมไปถึงเพลงชาติที่ประเทศได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน คำควัญที่คนไทยได้รู้จักกันดีจากวีรบุรุษท่านนี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"

อาชีพการเป็นทหารของ จอมพล ป. ได้เริ่มเมื่อเขาได้เข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.. ๒๔๕๙ ขณะท่านอายุ๑๙ ปี ท่านได้รับยศร้อยตรีและได้ไปประจำการอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก หลังจากที่ได้ไปประจำอยู่ที่นั่นไม่นาน ท่านได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการและได้เป็นที่หนึ่ง จากนั่นท่านได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกจนได้รับยศพันตรี และได้กลับมาที่กรุงสยามเพื่อรับราชการต่อ เมื่อวันที่๒๔ มิถุนายน พ.. ๒๔๗๕ มีผู้ใหญ่ได้ราชทินนามท่าน "หลวงพิบูลสงคราม" ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี พัน ตรี หลวงพิบูลสงครามได้เป็นส่วนร่วมของขณะราษ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพบก ซึ่งได้มีบทบาทอันสูงสุดในการนำความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในช่วงเวลานั้น ไม่นานหลังจากที่พัน ตรี พิบูลสงครามได้แสดงฝีมือการจัดการปัญหาบ้านเมือง ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.. ๒๔๘๑ ท่านได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรีระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งนั้น เมื่อท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง๒ปี ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

หลากหลายคนมักสงสัยว่าทำไมท่านถึงมีนามว่า แปลก ความจริงคือ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นบุคคลที่มีหูทั้งสองข้างต่ำกว่าระดับตา ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากคนทั่วไป คนจึงตั้งชื่อท่านว่าแปลก เนื่องจากว่าท่านได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญและได้เป็นภาพพจน์ของประเทศ ท่านจึงใช้ตัวอักษรย่อเป็น ป. จอมพล ป. ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากมายก่อนที่ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรี เช่นในปี พ.. ๒๔๗๕ ท่านได้เป็นนายทหารที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นรุ่นน้องของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นคนที่ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนจอมพล ป. พิบูลสงคราม นอกจากนี้แล้ว ท่านได้มีส่วนร่วมในการปราบปรามกบฎบวรเดชในปี พ.. ๒๔๗๖ หลังจากที่จอมพล ป. ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านได้ออกนโยบายในการสร้างชาติแบบใหม่ โดยส่งเสริมให้ชาติเป็นประเทศที่ยกย่องลัทธินิยม ท่านได้เริ่มลงมือโดยออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งเป็นการขับไล่นักลงทุนต่างชาติที่ได้สร้างอิธิพลให้ตนเองในประเทศไทย ท่านได้ปกป้องอาชีพไว้บางอย่างไว้เฉพาะคนไทยเพื่อเป็นการส่งเสริมแรงงานไทยและเป็นการเปิดโอกาศให้คนในประเทศได้ประกอบอาชีพที่ดีให้ได้มาตรฐานสากล สิ่งที่คนไทยชื่นชมท่านมากที่สุดคือการนิยมใช้สินค้าไทยท่านเคยกล่าวคำควัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"

นอกจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วประเทศ จอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมและประเพณีประเทศ เหตุผลที่ท่านต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบางอย่าง ทำเพื่อให้สังคมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและให้อยู่ในมาตรฐานสากล ท่านเริ่มโดยเปลี่ยนแปลงการแต่งตัวของคนที่รับราชการ จากการนุ่งผ้าม่วงหรือผ้าราชปะแตน ท่านให้ทุกคนหันมานุ่งกางเกงขายาวแทน ท่านได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทษจาก สยาม เป็น ไทย ในปี พ.. ๒๔๘๒ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ให้เป็น ๑ มกราคม แทนวันที่เดิม ๑ เมษายน ปี พ.. ๒๔๘๓ จึงมีเพียง ๙ เดือน ในปี พ.. ๒๔๘๕ ท่านได้จัดระเบียบใหม่ในการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นอารยประเทศ เช่น ท่านสั่งให้ประชาชนเลิกกินหมาก ให้ผู้หญิงสวมหมวกนุ่งโจงกระเบนและ สวมรองเท้า ไม่นานหลังจากนั้น มีกฎหมายออกมาใหม่ให้ทุกคนที่รับราชการมีการทักทายกันโดยพูดว่า "สวัสดี" ทุกกฎหมายถูกใช้อย่างเข้มงวด และหากใครไม่เคารบกฎหมายใหม่ บุคคลเหล่านั้นจะโดนเรียกไปตักเตือนเสียค่าปรับ หรืออาจจำคุก ขึ้นอยู่กับระดับของการกระทำ

ในช่วงปีแรกๆที่จอมพล ป. ได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เกิดสงครามอินโดจีนมนปี พ.. ๒๔๘๓ โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงในการแบ่งเขตโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน เนื่องจากว่าการเจรจานั่นไม่สำเร็จ ฝรั่งเศสได้ทิ้งระเบิดในนเมืองนครพนม และนั้นเป็นจุดเริ่มของสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนและฝรั่งเศส จอมพล ป. ได้ส่งกองกำลังทหารไปในอินโดจีนเพื่อปกป้องเขตที่ฝรั่งเศสได้รุกล้ำเข้ามาจนญี่ปุ่นได้เสนอการยุติการต่อสู้ สงครามจบด้วยการส่งผู้แทนแต่ละประเทศไปลงนามที่กรุ่งโตเกียวเพื่อยอมรับให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมไปถึงแขวงจัมปาศักดิ์และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสในปี พ.. ๒๔๕๐ ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุารณ์ของชัยชนะไทยต่อฝรั่งเศส และภายในหนึ่งปีต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ทำพิธีเปิด นอกจากความสำเร็จครั้งนี้แล้ว ท่านได้ เริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญของประเทศอีกมากมาย ที่สามารถช่วยพัฒนาการก่ออาชีพในประเทศจนยุคปัจจุบัน เช่นการเปิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น


จอมพล ป. พิบูลสงครามได้รับหน้าที่เป็นผู้นำของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หน้าที่และเป้าหมายของท่านคือการประคับประคองประเทศให้พ้นสงครามโดยการหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับประเทศอื่นๆ และพยายามสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในยุคที่ญี่ปุ่นกวาดล้างเอเซีย อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลก จอมพล ป.พิบูลสงครามต้องติดคุกในฐานะอาชญากรสงคราม และท่านต้องถูกปลดจากการรับราชการ หลังจากได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดโดยทำไร่ถั่วฝักยาวเป็นระยะเวลาหนึ่ง ท่านได้กลับมาอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนครีของประเทศไทย โดยมีการทำรัฐประหารโดยกลุ่มคนที่นับถือและยังเชื่อมั่นในการปกครองของท่าน ท่านได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอีก๙ปี โดยผ่ายวิกฤษต่างๆที่เหลือเชื่อ ในระยะเวลาที่ท่านกลับมาสู่ตำแหน่งนี้ มีกลุ่มกบฎมากมายพยายามลอบสังหารท่าน แต่ท่านรอดมาได้ทุกครั้ง เช่นกบฎแมนฮัตตัน ตอนที่ท่านถูกจี้บนเรือรบศรีอยุธยา และ ตอนถูกทิ้งระเบิดในห้องนอนท่าน ความโชคดีของท่านทำให้ประชาชนลือกันว่าท่านเป็น "จอมพลกระดูกเหล็ก"

เมื่อเย็นวันที่ ๑๕ กันยายน พ.. ๒๕๐๐ จอมพล ป. ถูกลูกน้องท่าน พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หักหลัง ซึ่งท่านได้เป็นลูกน้องที่ จอมพล ป. ได้ไว้วางใจไว้อย่างยิ่ง และเป็นนายทหารที่ใกล้ชิดท่านมาก จนกระทั่งมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ พลเอก สฤษดฺ์ได้ทำรัฐประหารในเมืองอย่างกระทันหัน และได้ประกาศทั่ววิทยุเพื่อตามล่า จอมพล ป. ด้วยความโชคดี ท่านได้หนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับลูกน้องเพียงสองคน และสามารถหนีข้ามไปประเทศกัมพูชาได้สำเร็จ ในวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน ท่านได้หนีไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากว่าท่านได้ช่วยเหลือญี่ปุ่นโดยให้ญี่ปุ่นเข้าผ่านประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยไม่ต้องมีการสู้รบเสียเลือดเสียเนื้อไปอย่างไร้ประโยชน์ ท่านจึงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากประชาชนญี่ปุ่น รวมไปถึงรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ลี้ภัยทางการเมืองจนท่านได้ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๐๗







วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

โหมโรง (The Interlude)

ภาพยนคร์เรื่องโหมโรง เป็นภาพยนตร์ที่ปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย ที่คุณอิธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ได้กำกับจากเค้าโครงของประวัติหลวงประดิษฐไพเราะ เนื้อเรื่องได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม โดยสื่อให้เห็นถึง'ราก'เล๊กๆของประเทศเช่นดนตรี ที่สามารถนำความสามัคีและความปรองดองระหว่างคนไทยกันเองได้ การเรียบเรียงของภาพยนตร์เต็มไปด้วยการย้อนไปย้อนมาข้ามเวลาของชีวิต 'นายศร' ตัวละครหลัก ซึ่งเป็นนักเล่นระนาดเอกที่ต่อสู้กับนักดนตรีมามากมายในยุคเขา และยังสู้จนสิ้นลมหายใจเพื่ออนุรักษ์ดนตรีไทย วิธีการประสมประสานเนื้อเรื่องทำให้ผู้ชมทุกคนที่ดูมีความประทับใจในวีรบุรุษของประเทศชาติ

ภาพยนตร์ทุกเรื่องมักใช้ดนตรีหรือเพลงต่างๆนานาในการสร้างบรรยากาศ เนื่องจากว่า 'โหมโรง' นั้นเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับดนตรี ทุกๆเพลงที่ถูกใช้มีคุณสมบัติในด้านวัฒนธรรม และสะท้อนให้เห็นถึงความไพเราะความดุดันและความแข็งแกร่งของสังคมในยุคอดีต ที่ไม่ได้นำความคิดของชาวต่างชาติมาเป็นจุดตั้งจุดยืนของอาณาจักร นอกจากการใช้ดนตรีในการย้อนยุค ผู้กำกับได้ใช้ให้เป็นอุปมาสำคัญ ตอนที่ลูกของนายศรได้นำเปียโนเข้ามาในบ้าน นายศรได้เล่นเพลง ลาวดวงเดือน พร้อมลูกด้วยเปียโนกับระนาด เพื่อให้สะท้อนถึงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ด้วยกันได้ เพลงบางเพลงในภาพยนตร์ได้ช่วยทำให้เห็นการย้อนไปย้อนมาของเวลาอย่างชัดเจน เวลาเนื้อเรื่องได้กลับมาที่ยุคปัจจุบันของนายศร เพลงและดนครีต่างๆที่ได้ยินมักมาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือวงดนตรีที่เต็มไปด้วยดนตรีสากล เช่น แชกโชโฟนหรือเปียโน จากที่เห็นในภาพยนตร์จากต้นจนถึงตอนจบ ดนตรีทุกชิ้นเป็นคุณสมบัติหลักของกาลเวลาของวัฒนธรรม และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของดนตรีไทยที่ค่อยๆจางหายไปจากสังคม

อีกองค์ประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ทำให้ผู้ชมทึ่ง คือการใช้สัญลักษณ์มาผสมผสานกับแก่นหลักของภาพยนตร์ เช่นสงครามหรือการต่อสู้ระหว่างนายศรกับขุนอินในการแข่งประกวด สงครามนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ค้นหาความเป็นอารยะทัดเทียมกับชาติอื่น แต่การที่คนเราดูถูก'รากเหง้า' ของประเทศตนเอง จะไม่สามารถทำให้ประเทศใดก็ตามในโลกนี้ สามารถก้าวหน้าได้ เช่นเดียวกับตอนนายศรได้พยายามเปลี่ยนแผนเดิมของการเล่นระนาดให้มาเป็นอะไรแปลกใหม่ ทำให้คนไม่พอใจกับดนตรีเขาเพราะมันเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม จุดสำคัญในภาพยนตร์คือในยุคที่ไทยกำลังโดนญี่ปุ่นบุกรุก นายศรหรือ'ท่านครู'ได้ต่อว่าท่านผู้พันว่า "ไม้ใหญ่จะยืนทระนงต้านแรงช้างสารอยู่ได้ ก็ด้วยรากที่หยั่งลึกและแข็งแรง" วัฒนธรรมคือสิ่งที่สำคัญ และสงครามคือผลสรุปของการลบล้างมัน อีกสัญลักษณ์ที่สำคัญคือระนาด ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงดนตรี แต่เป็นแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น และเอกลักษณ์ของชาติไทย หลวงประดิษฐไพเราะได้กล่าวไว้ว่าระนาดนั้น เป็น"อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน" ระนาดเป็นดนตรีหลักที่คนต่างชาติจากสมัยก่อน และ ณ ปัจจุบัน เห็นว่ามีความเป็นไทยมากที่สุด จากการกำเนินเรื่องของภาพยนตร์ ระนาดเป็นเครื่องดนตรีที่คนในยุคโบราณนับถือเป็นอย่างยิ่ง และเป็นผู้มีเกียรติอย่างสูง เนื่องจากว่าระนาดนั้นเป็นหน้าเป็นตาของทุกๆหมู่บ้านหรือจังหวัด และเป็นการนำสังคมให้เข้าหากันด้วยการแข่งขันเล่นดนตรี ภาพยนตร์นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ถ้าสังคมจะพัฒนาในด้านใดๆก็ตาม วัฒนธรรมต้องเป็นตัวตั้งตัวยืน และความคิดผู้อื่นเป็นการเจริญเติบโต

อีกอย่างที่น่าประถับใจในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการจัดฉากระหว่างในวัยเยาว์หรือวัยชราของนายศร ตอนย้อนยุคไปในอดีต เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานที่อยู่ในชนบท เช่นบ้านเกิดของศร ซึ่งมาจากอัมพวา สภาพแวดล้อมของอัมพวาจะเต็มไปด้วยป่าวัดและเรือนไทยโบราณ ส่วนชาวบ้านทุกๆคนต่างทำหน้าที่ เช่น จับปลา ซ้อมดนตรี หรือขายของ ส่วนเมืองบางกอกนั้น ซึ่งเป็นเมืองที่นายศรได้เดินทางไปแข่งขันตีระนาด ได้เริ่มมีการพัฒนาจากวัฒนธรรมต่างชาติเช่นเครื่องเล่นแผ่นเสียง แต่ยังมีความดั้งเดิมในการเดินทางหรือการใช้ชีวิต ซึ่งเต็มไปด้วยตลาดและงานการคล้ายคนในชนบท ส่วนยุคสงครามตอนนายศรแก่แล้ว สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากทุกๆคนที่นุ่งโจงกระเบน คนในเมืองแต่งตัวสากล และดื่มสุราต่างประเทศ มีนายทหารคนหนึ่งได้ดูถูกแป้งสาโท ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของเหล้าไทย ให้คนฟังเพื่อเป็นการเยาะเย้ยความเป็นไทยหรือความเป็นคนล้าสมัย การเดินทางจากเดินและเกวียน กลายเป็นรถยนตร์หรือจักรยานยนตร์ และอย่างที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้ ทุกๆร้านอาหารเต็มไปด้วยดนตรีสากลหรือเครื่องเล่นแผ่นเสียง ซึ่งต่างจากฉากโบราณที่เต็มไปด้วยวงดนตรีไทย การที่ผู้กำกับได้สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ผู้ชมได้สัมพัสถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งแง่คุณภาพสังคมและคุณภาพของจิตใจคนในแต่ละยุค จากสังคมที่ร่วมมือกันรักษาระเบียบวินัยของความเป็นไทย ไปจบในสังคมที่ยกย่องวัฒนธรรมต่างชาติ และปนเปื้อนทับคุณสมบัติของความเป็นไทยจนเริ่มจางหาย

สรุป ภาพยนตร์เรื่องโหมโรงของคุณอิธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ได้เป็นคติสอนใจผู้ใหญ่และเยาวชนทุกๆคนให้ปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย และให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพื่อที่จะได้รักษารากเหง้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นรากที่ยังทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถมีความเป็นเอกลักษณ์และความแตกต่างจากสังคมอื่นในโลกนี้ นอกจากแก่นเรื่องที่ดี ตัวภาพยนตร์นั้นมีเนื้อเรื่องที่ตื่นเต้นตลอดจนถึงตอนจบ และ ได้ใช้ดนตรีเคียงข้างกับชนิดของสภาพแวดล้อม ซึ่งได้สร้างบรรยากาศที่งดงามให้ผู้ชมได้เห็นและสัมพัส การเลือกตัวละครเป็นอันที่เหมาะสม และทุกตัวละครในเรื่องได้แสดงถึงบุคลิกภาพของคนไทยในอดีตได้อย่างแม่นและระเอียด ความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ไม่ได้เพียงแสดงถึงภาพพจน์สังคมไทยโบราณที่แสนสง่างาม แต่ได้สร้างภาพใหม่สำหรับดนตรีไทย ความเป็นไทย และความน่าประทับใจสำหรับวิรบุรุษไทย