นาย
แปลก ขีตตะสังคะ หรือที่เรียกกันไปทั่วว่า
"จอมพล
ป. พิบูลสงคราม”
เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งได้ยาวนานที่สุดของประเทศไทย
คือ ๑๔ปี ๑๑เดือน และ๑๘วัน
นโยบายหลักของท่านคือการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นอารยประเทศ
และสร้างปนะเทศไทยให้เจริญเติบโตเหมือนประเทศต่างๆนานา
เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นประเทศที่ครอบครองหลากหลายประเทศในยุคนั้น
ท่านได้สร้างวัฒนธรรมให้ชาติอย่างมาก
เช่น ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย การรำวง
การตั้งมาตรฐานใหม่สำหรับการดำรงชีวิตในประเทศ
และเป็นผู้เปลี่ยนชื่อ สยาม
เป็นประเทศไทยในวันที่ ๒๔
มิถุนายน พ.ศ.
๒๔๘๒
รวมไปถึงเพลงชาติที่ประเทศได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน
คำควัญที่คนไทยได้รู้จักกันดีจากวีรบุรุษท่านนี้คือ
"เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"
อาชีพการเป็นทหารของ
จอมพล ป.
ได้เริ่มเมื่อเขาได้เข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก
และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.
๒๔๕๙ ขณะท่านอายุ๑๙
ปี ท่านได้รับยศร้อยตรีและได้ไปประจำการอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก
หลังจากที่ได้ไปประจำอยู่ที่นั่นไม่นาน
ท่านได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการและได้เป็นที่หนึ่ง
จากนั่นท่านได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกจนได้รับยศพันตรี
และได้กลับมาที่กรุงสยามเพื่อรับราชการต่อ
เมื่อวันที่๒๔ มิถุนายน พ.ศ.
๒๔๗๕
มีผู้ใหญ่ได้ราชทินนามท่าน
"หลวงพิบูลสงคราม"
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
พัน ตรี หลวงพิบูลสงครามได้เป็นส่วนร่วมของขณะราษ
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพบก
ซึ่งได้มีบทบาทอันสูงสุดในการนำความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในช่วงเวลานั้น
ไม่นานหลังจากที่พัน ตรี
พิบูลสงครามได้แสดงฝีมือการจัดการปัญหาบ้านเมือง
ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก
และได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๑
ท่านได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
และท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรีระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งนั้น
เมื่อท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง๒ปี
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม
เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
หลากหลายคนมักสงสัยว่าทำไมท่านถึงมีนามว่า
แปลก ความจริงคือ จอมพล ป.
พิบูลสงครามเป็นบุคคลที่มีหูทั้งสองข้างต่ำกว่าระดับตา
ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากคนทั่วไป
คนจึงตั้งชื่อท่านว่าแปลก
เนื่องจากว่าท่านได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญและได้เป็นภาพพจน์ของประเทศ
ท่านจึงใช้ตัวอักษรย่อเป็น
ป. จอมพล
ป.
ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากมายก่อนที่ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรี
เช่นในปี พ.ศ.
๒๔๗๕
ท่านได้เป็นนายทหารที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยเป็นรุ่นน้องของ
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ซึ่งเป็นคนที่ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนจอมพล
ป. พิบูลสงคราม
นอกจากนี้แล้ว
ท่านได้มีส่วนร่วมในการปราบปรามกบฎบวรเดชในปี
พ.ศ.
๒๔๗๖ หลังจากที่จอมพล
ป. ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ท่านได้ออกนโยบายในการสร้างชาติแบบใหม่
โดยส่งเสริมให้ชาติเป็นประเทศที่ยกย่องลัทธินิยม
ท่านได้เริ่มลงมือโดยออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ
ซึ่งเป็นการขับไล่นักลงทุนต่างชาติที่ได้สร้างอิธิพลให้ตนเองในประเทศไทย
ท่านได้ปกป้องอาชีพไว้บางอย่างไว้เฉพาะคนไทยเพื่อเป็นการส่งเสริมแรงงานไทยและเป็นการเปิดโอกาศให้คนในประเทศได้ประกอบอาชีพที่ดีให้ได้มาตรฐานสากล
สิ่งที่คนไทยชื่นชมท่านมากที่สุดคือการนิยมใช้สินค้าไทยท่านเคยกล่าวคำควัญว่า
"ไทยทำ
ไทยใช้ ไทยเจริญ"
นอกจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วประเทศ
จอมพล
ป.พิบูลสงครามได้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมและประเพณีประเทศ
เหตุผลที่ท่านต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบางอย่าง
ทำเพื่อให้สังคมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและให้อยู่ในมาตรฐานสากล
ท่านเริ่มโดยเปลี่ยนแปลงการแต่งตัวของคนที่รับราชการ
จากการนุ่งผ้าม่วงหรือผ้าราชปะแตน
ท่านให้ทุกคนหันมานุ่งกางเกงขายาวแทน
ท่านได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทษจาก
สยาม เป็น ไทย ในปี พ.ศ.
๒๔๘๒
รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ให้เป็น
๑ มกราคม แทนวันที่เดิม ๑
เมษายน ปี พ.ศ.
๒๔๘๓ จึงมีเพียง
๙ เดือน ในปี พ.ศ.
๒๔๘๕
ท่านได้จัดระเบียบใหม่ในการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นอารยประเทศ
เช่น ท่านสั่งให้ประชาชนเลิกกินหมาก
ให้ผู้หญิงสวมหมวกนุ่งโจงกระเบนและ
สวมรองเท้า ไม่นานหลังจากนั้น
มีกฎหมายออกมาใหม่ให้ทุกคนที่รับราชการมีการทักทายกันโดยพูดว่า
"สวัสดี"
ทุกกฎหมายถูกใช้อย่างเข้มงวด
และหากใครไม่เคารบกฎหมายใหม่
บุคคลเหล่านั้นจะโดนเรียกไปตักเตือนเสียค่าปรับ
หรืออาจจำคุก ขึ้นอยู่กับระดับของการกระทำ
ในช่วงปีแรกๆที่จอมพล
ป. ได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
เกิดสงครามอินโดจีนมนปี
พ.ศ.
๒๔๘๓
โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงในการแบ่งเขตโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน
เนื่องจากว่าการเจรจานั่นไม่สำเร็จ
ฝรั่งเศสได้ทิ้งระเบิดในนเมืองนครพนม
และนั้นเป็นจุดเริ่มของสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนและฝรั่งเศส
จอมพล ป.
ได้ส่งกองกำลังทหารไปในอินโดจีนเพื่อปกป้องเขตที่ฝรั่งเศสได้รุกล้ำเข้ามาจนญี่ปุ่นได้เสนอการยุติการต่อสู้
สงครามจบด้วยการส่งผู้แทนแต่ละประเทศไปลงนามที่กรุ่งโตเกียวเพื่อยอมรับให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน
รวมไปถึงแขวงจัมปาศักดิ์และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสในปี
พ.ศ.
๒๔๕๐
ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เพื่อเป็นอนุารณ์ของชัยชนะไทยต่อฝรั่งเศส
และภายในหนึ่งปีต่อมา จอมพล
ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ทำพิธีเปิด
นอกจากความสำเร็จครั้งนี้แล้ว
ท่านได้ เริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญของประเทศอีกมากมาย
ที่สามารถช่วยพัฒนาการก่ออาชีพในประเทศจนยุคปัจจุบัน
เช่นการเปิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
และ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นต้น
จอมพล
ป.
พิบูลสงครามได้รับหน้าที่เป็นผู้นำของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
หน้าที่และเป้าหมายของท่านคือการประคับประคองประเทศให้พ้นสงครามโดยการหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับประเทศอื่นๆ
และพยายามสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในยุคที่ญี่ปุ่นกวาดล้างเอเซีย
อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลก
จอมพล ป.พิบูลสงครามต้องติดคุกในฐานะอาชญากรสงคราม
และท่านต้องถูกปลดจากการรับราชการ
หลังจากได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดโดยทำไร่ถั่วฝักยาวเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ท่านได้กลับมาอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนครีของประเทศไทย
โดยมีการทำรัฐประหารโดยกลุ่มคนที่นับถือและยังเชื่อมั่นในการปกครองของท่าน
ท่านได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอีก๙ปี
โดยผ่ายวิกฤษต่างๆที่เหลือเชื่อ
ในระยะเวลาที่ท่านกลับมาสู่ตำแหน่งนี้
มีกลุ่มกบฎมากมายพยายามลอบสังหารท่าน
แต่ท่านรอดมาได้ทุกครั้ง
เช่นกบฎแมนฮัตตัน
ตอนที่ท่านถูกจี้บนเรือรบศรีอยุธยา
และ ตอนถูกทิ้งระเบิดในห้องนอนท่าน
ความโชคดีของท่านทำให้ประชาชนลือกันว่าท่านเป็น
"จอมพลกระดูกเหล็ก"
เมื่อเย็นวันที่
๑๕ กันยายน พ.ศ.
๒๕๐๐
จอมพล ป.
ถูกลูกน้องท่าน
พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หักหลัง
ซึ่งท่านได้เป็นลูกน้องที่
จอมพล ป.
ได้ไว้วางใจไว้อย่างยิ่ง
และเป็นนายทหารที่ใกล้ชิดท่านมาก
จนกระทั่งมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้
พลเอก สฤษดฺ์ได้ทำรัฐประหารในเมืองอย่างกระทันหัน
และได้ประกาศทั่ววิทยุเพื่อตามล่า
จอมพล ป.
ด้วยความโชคดี
ท่านได้หนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับลูกน้องเพียงสองคน
และสามารถหนีข้ามไปประเทศกัมพูชาได้สำเร็จ
ในวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน
ท่านได้หนีไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น
เนื่องจากว่าท่านได้ช่วยเหลือญี่ปุ่นโดยให้ญี่ปุ่นเข้าผ่านประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยไม่ต้องมีการสู้รบเสียเลือดเสียเนื้อไปอย่างไร้ประโยชน์
ท่านจึงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากประชาชนญี่ปุ่น
รวมไปถึงรัฐบาล จอมพล ป.
พิบูลสงครามได้ลี้ภัยทางการเมืองจนท่านได้ถึงแก่กรรมวันที่
๑๑ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๐๗
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น